ลักษณะการแบ่งประเภทตราสารหนี้

ตราสารหนี้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น ชื่อผู้ออกตราสาร ต้นเงินหรือมูลค่าที่ตราไว้ วันครบกำหนดไถ่ถอน อัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ผู้ซื้อจะได้รับ งวดการจ่ายดอกเบี้ยหรือวันที่จ่ายดอกเบี้ย ประเภทของตราสารหนี้ และข้อสัญญาหรือเงื่อนไขของตราสารหนี้ เป็นต้น โดยการแบ่งประเภทตราสารหนี้ฃอาจแบ่งได้หลายลักษณะ

แบ่งตามอายุ
ของตราสารหนี้

ได้แก่ ตราสารหนี้ที่มีอายุ​ สั้น กลาง และยาว

ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราลอยตัว ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยทบต้น หรือตราสารหนี้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย ก็เป็นการแบ่งตามลักษณะการจ่ายดอกเบี้ยเช่นกัน

แบ่งตามลักษณะ
ของการจ่ายดอกเบี้ย

เช่น ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่

ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญา ใช้เงิน หรือหุ้นกู้ เป็นต้น

ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง หรือ หน่วยงานภาครัฐ ออกจำหน่ายเพื่อระดมทุนในประเทศจากประชาชนและสถาบันการเงิน

แบ่งตามประเภท
ของผู้ออกตราสารหนี้

ได้แก่ ตราสารหนี้ภาคเอกชน และตราสารหนี้ภาครัฐ

ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญา ใช้เงิน หรือหุ้นกู้ เป็นต้น

ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง หรือ หน่วยงานภาครัฐ ออกจำหน่ายเพื่อระดมทุนในประเทศจากประชาชนและสถาบันการเงิน

แบ่งตามลักษณะ
การออกใบตราสาร

ได้แก่ ชนิดมีใบตราสาร (Scrip) และชนิดไร้ใบตราสาร (Scripless)

หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ภาครัฐ

เพื่อให้การดำเนินงานในการบริการเกี่ยวกับพันธบัตรและตราสารนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในหลายภาคส่วน

  • 1.วางแผนร่วมกับผู้ออกตราสารหนี้ เพื่อใช้ในการออกตราสารหนี้ในตลาดแรก และออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ในการดำเนินนโยบายการเงิน การดูแลสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน รวมถึงขยายฐานนักลงทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้​​​​
  • 2.ดูแลและจัดจำหน่าย ทำหน้าที่กำกับดูแลและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก​​
  • 3.จัดการการจ่ายเงินเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน
  • 4.เป็นผู้แต่งตั้ง Primary Dealer เพื่อเป็นคู่ค้าตราสารหนี้ในการดำเนินนโยบายการเงิน​
  • 5.ร่วมพัฒนาตลาดตราสารหนี้ กับกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาการออกตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก เพิ่มสภาพคล่องและประสิทธิภาพของตลาดรอง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการส่งมอบและชําระราคาตราสารหนี้ เป็นต้น​

ผู้เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร

  • 1.ผู้ออกตราสารหนี้ ผู้ออกตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ ซึ่งเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายระหว่าง เจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้ ลูกหนี้คือผู้ออกตราสารหนี้ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รัฐวิสาหกิจ ส่วนเจ้าหนี้คือผู้ซื้อตราสารหนี้หรือผู้ลงทุน
  • 2.ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อหรือผู้รับโอนหรือผู้ประมูลตราสารหนี้ เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล สถาบันกา​รเงิน
  • 3.ผู้รับฝากหลักทรัพย์ ผู้ทำหน้าที่ในการดูแลและรับฝากพันบัตรหรือหลักทรัพย์ เช่น ธนาคารพาณิชย์ (ในฐานะ Custodian) และบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) รับฝากพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร Scripless
  • 4.ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่าย สถาบันการเงินที่ผู้ออกตราสารหนี้แต่งตั้งให้ดำเนินการจำหน่ายตราสารหนี้ของผู้ออกตามความตกลงร่วมกัน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ
  • 5. บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ไทย ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและ
  • 6. ผู้รับหลักประกัน หน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐ สถาบันการเงิน และบุคคล เช่น ศาล การไฟฟ้า ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ บุคคลธรรมดา ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์นำตราสารหนี้ไปวางเป็นหลักประกันต่าง ๆ เช่น ประกันตัวผู้ต้องหา ประกันการใช้ไฟฟ้า ประกันการขอสินเชื่อ
  • 7. นายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน ผู้ทำหน้าที่ในการดูแล รักษาข้อมูล การให้บริการธุรกรรมด้านพันธบัตรและตราสารหนี้การจ่ายดอกเบี้ยและต้นเงิน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • 8. ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หน่วยงานราชการที่มีอำนาจตามกฎหมายในการให้นายทะเบียนตรวจสอบกรรมสิทธิ์ ระงับการจำหน่าย จ่าย โอน (อายัด ยึด) ตราสารหนี้ ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ เช่น กรมสรรพากร ศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์​

ความรู้พื้นฐานสำหรับการลงทุในตราสารหนี้

สำหรับผู้สนใจเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับตราสารหนี้ ​​​​และการลงทุนในตราสารหนี้ สามารถเรียนรู้เนื้อหาเบื้องต้น ได้จากหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

บทที่ 1

รหัสหลักทรัพย์สากลและสัญลักษณ์ของตราสารหนี้​

Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo

บทที่ 2

รหัสหลักทรัพย์สากลและสัญลักษณ์ของตราสารหนี้​

Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo

บทที่ 3

การประมาณราคาหรือมูลค่าของตราสารหนี้

Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo

บทที่ 4

เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้รัฐบาล

Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo

บทที่ 5

ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้

Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo

บทที่ 6

ตลาดตราสารหนี้

Lorem ipsum dolor sit amet, consetetur sadipscing elitr, sed diam nonumy eirmod tempor invidunt ut labore et dolore magna aliquyam erat, sed diam voluptua. At vero eos et accusam et justo

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์