Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit. Commodi quam reiciendis hic aspernatur? Accusamus, aspernatur. Ad tempore cupiditate enim laborum. Aperiam distinctio eveniet explicabo! Reprehenderit doloremque possimus explicabo cupiditate id.

ภายใต้หลักการ 5 ด้าน ดังนี้

1. ดูแลให้สถาบันการเงินมีความมั่นคง และมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี(Prudent)

โดยมีเงินกองทุนที่มีคุณภาพและเพียงพอตามมาตรฐานสากลสําหรับรองรับความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจาก การดําเนินธุรกรรมต่าง ๆ และมีหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านสภาพคล่อง ด้านปฏิบัติการ ด้านตลาด และปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีรวมถึงการใช้เกณฑ์การกํากับ แบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ที่สอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่มี(risk profile) ของ สถาบันการเงิน​

2. ส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ (Efficiency)

มีการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม และระวัง ไม่ให้กฎเกณฑ์การกํากับดูแลเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการทางธุรกิจ เช่น การจัดทําแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และการกํากับขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน เป็นต้น​

3. ดูแลให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลที่ดี(Good Governance)

ดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานของสถาบันการเงินทําหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยมุ่งเน้นในเรื่องบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โครงสร้างของคณะกรรมการ การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส​​

4. ดูแลให้สถาบันการเงินดําเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมต่อลูกค้าและประชาชน (Fair and Customer Protection)

มีการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม และระวัง ไม่ให้กฎเกณฑ์การกํากับดูแลเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการทางธุรกิจ เช่น การจัดทําแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และการกํากับขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน เป็นต้น

5. กํากับสถาบันการเงินเพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ (Macro Prudential)

โดยใช้เกณฑ์การกํากับสถาบัน การเงินเป็นเครื่องมือในการดูแลความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การออกเกณฑ์กํากับบัตรเครดิต โดยกําหนดรายได้ขั้น ต่ําของผู้ถือบัตร วงเงินสินเชื่อ และจํานวนเงินขั้น ต่ําในการผ่อนชําระ เป็นต้น เพื่อดูแลการ ก่อหนี้ภาคครัวเรือน​​

ทั้งนี้ธปท. ได้วางกรอบความมัน่ คงของระบบสถาบันการเงิน คือ การที่ระบบสถาบันการเงินทําหน้าที่ของ ตนได้อย่างราบรื่น โดยดูแล (1) ไม่ให้ระบบสถาบันการเงินเป็นต้นเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจ (2) ในกรณีเศรษฐกิจมีปัญหา ระบบสถาบันการเงินควรสามารถทําหน้าที่ของตนในการส่งผ่านเงินออมไปยังภาคเศรษฐกิจ ี่ ต่าง ๆ และทําหน้าที่ในระบบการชําระเงินได้ในระดับที่พอควรแก่กรณีและ (3) ระบบสถาบันการเงินต้อง ไม่สร้างภาระต่อเงินภาษีของประชาชน

กระบวนการกําหนดนโยบาย

ธปท. มีกระบวนการที่ชัดเจนและโปร่งใสในการกําหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การกํากับดูแล สง. กล่าวคือ มีการศึกษาและวิเคราะห์เหตุผล ความจําเป็น ข้อดีข้อเสีย มาตรฐานสากล แนวทางปฏิบัติในประเทศใกล้เคียง และผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงิน โดยมีการรับฟังความเห็นจาก สง. รวมทั้งต้องผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.)

ภายหลังจากออกนโยบายและหลักเกณฑ์การกํากับดูแล สง. แล้ว ธปท. ยังมีการติดตามผลกระทบ และปรับปรุงตามความเหมาะสม ของ หลักเกณฑ์ฯ อย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้มัน่ ใจว่ากระบวนการ กําหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความเหมาะสม สามารถ นําไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล และไม่เป็นภาระกับสถาบัน การเงินโดยไม่จําเป็น

ทั้งนี้สาธารณชนสามารถเรียกดูข้อมูลของประกาศ ธปท. และหนังสือเวียน

เว็บไซต์ฐานข้อมูลราชกิจจานุเบกษา

เว็บไซต์ของ ธปท.

ทำความรู้จัก
“กํากับระบบสถาบันการเงิน”

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์